บทที่ 1167 เข้าใจผิด
บทที่ 1167 เข้าใจผิด
ซูเสี่ยวเถียนกำลังคิดเรื่องบะหมี่
ตอนนี้หลู่เซียงเซียงทั้งสองแห่งยังดำเนินการได้ตามปกติ
แต่อุตสาหกรรมในหนานหลิ่งไม่เหมือนกับโรงงานเธอ
เพราะที่นั่นเราต้องเลือกคนเก่ง ๆ มาตั้งแต่ก่อสร้าง
อย่างน้อยวุฒิการศึกษาก็มัธยมต้น นักศึกษาอาจจะไม่ได้เยอะ แต่จบมัธยมปลายมีพอสมควร
ถือเป็นรากฐานของการพัฒนาโรงงาน
แต่สำหรับหนานหลิ่งแตกต่างออกไป ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมประเภทใด เราต้องรับสมัครคนจากหมู่บ้านเป็นหลัก
ส่วนใหญ่พวกเขาอยู่ในระดับอ่านออกเขียนได้ มีแค่ไม่กี่คนที่จบมัธยมต้น
ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาเราเรียนเรื่องอะไรในโรงเรียนนั้นย่อมควรค่าแก่การนำมาถกเถียงกัน
เธอไม่คิดว่าคนพวกนี้จะแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมได้
แค่การวิจัยของอุตสาหกรรมในหมู่บ้านหนานหลิ่งก็ล้าหลังแล้ว
ตอนนี้ยังไม่มีการพัฒนารสชาติใหม่ ๆ เลย
ด้วยวุฒิการศึกษาของชาวบ้านที่ต่ำเกินไป เลยทำให้ล้าหลังอย่างเห็นได้ชัด
แต่หนานหลิ่งก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตอนนี้ยังมองเห็นไม่ชัดหรอก คนส่วนใหญ่จึงไม่ได้ตระหนัก
ถ้าระยะสั้นก็พอจะขนย้ายแรงงานไหว แต่ถ้าระยะยาวโรงงานเราจะขาดกำลังส่วนนั้นทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
สุดท้ายมีความเป็นไปได้ว่ามันจะปิดตัวลงด้วยเหตุผลนี้แหละ
ซูเสี่ยวเถียนตั้งใจว่าจะเอาแบรนด์หลู่เซียงเซียงเป็นแบรนด์ย่อยของหมู่บ้านหนานหลิ่งในภายภาคหน้า เพราะงั้นเราต้องเริ่มก่อสร้างแล้ววางรากฐานให้มั่นคงไปเลย
ปัญหาด้านความสามารถต้องแก้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
ทีแรกคิดว่าซูฉางจิ่วจะตกปากรับคำทันที
แต่อีกฝ่ายกลับมีสีหน้าลำบากใจ
“ลุงว่าพวกนักศึกษาไม่น่ามาหรอก เพราะหมู่บ้านเราไม่มีอะไรเลย แถมยังห่างไกลอีก”
คนเก่ง ๆ จะอยากมาทำงานในชนบททำไมล่ะ?
ซูเสี่ยวเถียนขมวดคิ้ว ก็จริงนะ แต่ไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้แล้วเนี่ยสิ
ตอนนั้นเองก็ได้ยินซูฉางจิ่วเอ่ยต่อ
“อีกอย่าง ถ้าอุตสาหกรรมในหมู่บ้านเรารับสมัครคนนอก ลุงกลัวว่าชาวบ้านจะไม่ยินดีเอา ถึงตอนนี้จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นคนนอก แต่ส่วนใหญ่มันเป็นคนของเราเองเนี่ยสิ”
ซูเสี่ยวเถียนรู้สึกว่าเหมือนจะมีอะไรเข้าใจกันผิด
ถึงเราจะใช้ชื่อว่าหมู่บ้านหนานหลิ่ง แต่มันไม่ได้เป็นของเราคนเดียวนะ
แล้วทำไมต้องไม่พอใจถ้าจะจ้างคนนอกมาทำ?
หรือคิดจะเอาคนเดียวหมดเลย?
“ถึงจะสร้างขึ้นในหมู่บ้าน แต่มันจะเป็นของใครนั้นเราควรคุยกันก่อนสิ”
สุดท้ายก็ต้องเตือนออกไป
เรื่องนี้สองคนต่างรู้ดี
มีทั้งการลงทุนจากฝั่งรัฐบาล และซูเสี่ยวเถียนถือหุ้นส่วนหนึ่งด้วย ว่ากันตามตรงคือไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคนในหมู่บ้านหนานหลิ่งสักนิด
เมื่อได้ยินแบบนั้น ซูฉางจิ่วพลันตระหนักได้ว่าเข้าใจผิดไปเอง
สมัยที่สร้างแรก ๆ มีเงินของรัฐบาลแล้วก็สูตรอาหารของเสี่ยวเถียนด้วย
เธอมีอำนาจมากกว่าชาวบ้านพูดเสียอีก
หากเจ้าตัวตกลงให้รับสมัครคนนอก ต่อให้ชาวบ้านไม่เอาย่อมไม่สามารถหยุดได้อยู่แล้ว
“เป็นความผิดลุงเอง!”
เขาละอายใจมาก แม้อีกฝ่ายจะเด็กกว่าแต่ยังยอมรับความผิดพลาดแต่โดยดี
“ลุงจะคิดแบบนั้นก็ไม่ผิดหรอกค่ะ ชาวบ้านเองคงไม่ต่างกันหรอก”
เด็กสาวยกยิ้มจาง ๆ
ซูเสี่ยวเถียนไม่ได้เป็นเจ้าของอุตสาหกรรมที่นั่นเพียงคนเดียว เลยไม่ได้ลงแรงอะไรมากมาย
แต่ชาวบ้านที่นั่นน่าจะนึกอย่างที่ลุงฉางจิ่วพูดไว้ก่อนหน้านี้
ลืมไปเสียสนิทว่าตัวเองไม่ได้ออกเงินสักแดงเดียว
ทำไมถึงคิดว่ามันเป็นของตัวเองกัน?
ถ้าเกิดความคิดนี้เป็นที่รู้กัน แค่ช่วงเวลาอันสั้น มันก็อาจล้มละลายเลยก็ได้เพราะบริหารจัดการกันไม่ดี
ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัย การบริหารธุรกิจรูปแบบวงศ์ตระกูลเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการมากที่สุด
ถ้าอยากให้พัฒนาได้นานต้องบริหารรูปแบบองค์กรเสีย
แต่เดิมเราทำอุตสาหกรรมในหนานหลิ่งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น ถ้าจะให้อยู่ได้นาน ๆ เราจะบริหารแบบเครือญาติหรือพรรคพวกตัวเองไม่ได้
ต้องหาคนเก่ง ๆ เข้าใจการบริหารจะได้อยู่รอด
ซูฉางจิ่วทบทวนตัวเอง
ชาวบ้านเอาแต่พูดว่านี่เป็นอุตสาหกรรมเรา และคนของเราก็เป็นคนดูแลกันหลัก ๆ
ถึงขนาดวางท่าทีดูถูกคนงานนอกหมู่บ้านด้วยซ้ำ
ทีแรกก็ไม่ได้คิดอะไร
แต่เมื่อเสี่ยวเถียนเตือนถึงได้ฉุกคิดขึ้นได้
เขาอาจทำผิดมาตั้งแต่แรกเริ่ม
ถ้าบริหารให้เป็นธุรกิจ พอถึงช่วงสิ้นปีชาวบ้านก็จะได้ซองแดงกัน
ไม่ได้ต่างไปจากคนอื่น
พอเข้าทำงานแล้ว ทุกคนจะเป็นคนงานกันหมด มีสถานะเท่ากัน
ซูฉางจิ่วค้นพบจุดสำคัญอย่างรวดเร็ว
“ไว้ลุงกลับไปแก้ปัญหาเรื่องนี้นะ”
เรื่องอื่น ๆ เขาให้คำมั่นไม่ได้ แต่ความรู้สึกคือตนอาจทำได้
“หนูรู้ว่าลุงทุ่มเทมาตลอดค่ะ หวังว่ามันจะพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ นะคะ”
“ถ้ามันไปได้สวย ชีวิตคนในหนานหลิ่งย่อมดีขึ้นอยู่แล้วค่ะ”
เธอเอ่ยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน
ในฐานะที่เป็นเด็ก เธอไม่สามารถเจ้ากี้เจ้าการได้
แต่ถ้าไม่พูดให้ชัดตั้งแต่ตอนนี้ อนาคตจะลำบากเอา
“ลุงรู้อยู่แล้วว่าสองปีมานี้มีโรงงานสร้างขึ้นเยอะ แต่มีไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สร้างรายได้ได้”
ซูฉางจิ่วชั่งน้ำหนักในใจ
รัฐบาลได้สนับสนุนเรื่องกิจการของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
อิงจากผู้ถือหุ้น โรงงานหลาย ๆ ขนาดในอำเภอมีแค่แปดสิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เพราะที่ซึ่งสามารถทำรายได้ได้จริง ๆ มันมีไม่กี่ที่เท่านั้น
พวกเขาล้มละลายก่อนสร้างเสร็จเสียอีก
ส่วนใหญ่ปัญหาก็เกิดจากมนุษย์
“ถ้าอยากให้ธุรกิจพัฒนาก็ต้องมีการบริหารที่มั่นคงค่ะ บอกตรง ๆ นะคะ ถ้าชาวบ้านเอาแต่คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของ เหนือกว่าคนอื่น ดูถูกคนงานด้วยกันเอง อยู่ได้ไม่นานหรอกค่ะ”
ซูฉางจิ่วเหมือนโดนปลุกด้วยค้อนอย่างแรง
จริงด้วย!
ที่โรงงานไปได้สวยส่วนหนึ่งเกิดจากแผนการอันละเอียดของเสี่ยวเถียน
สองคือได้ข้อกำหนดที่เข้มงวดในการดูแลโรงงานด้วย แล้วเราก็นำไปปฏิบัติอย่างดี
สามคือไม่มีอนาคตให้ห่วง เราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มียอดขายเพราะมีคนหนุนหลังให้อยู่แล้ว
ส่วนปัญหาที่เธอบอกมาแม่นยำมาก โชคดีจริง ๆ ที่บอกไว้ก่อน
เพราะไม่รู้ว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ขนาดตัวซูฉางจิ่งยังคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของโรงงานเลย!
“เข้าใจแล้ว ไว้ลองกลับไปหาคนเรียนสูง ๆ มาบริหารดูนะ แต่น่าจะยากหน่อย”
เรื่องความคิดมันแก้ได้ แต่เรื่องจ้างนักศึกษามาทำน่าจะยาก
แต่เขารู้ว่าถ้าได้มามันจะมีข้อดีอะไรบ้าง
สำหรับยุคนี้ ครอบครัวใดที่มีนักศึกษาเส้นทางจะมั่นคงกว่าคนอื่นมาก
ดูอย่างตระกูลซูสิ ทุกวันนี้ดีขึ้นได้เพราะเด็ก ๆ เรียนเก่งไม่ใช่หรือ?”
ชาวบ้านหนานหลิ่งยินดีส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือนะ ถึงสองปีนี้จะลำบากแต่เขาว่าถ้าผ่านไปได้จะสบายมาก
เรื่องนี้ทุกคนก็รู้ เลยมีแบบอย่างเป็นคนบ้านซูไง
หลายปีนี้อัตราการลงทะเบียนเรียนของหมู่บ้านเราจึงสูงที่สุดในอำเภอเลย
เว้นแต่เด็กคนหนึ่งที่พิการด้านสมองเท่านั้น ส่วนเด็กที่อายุถึงแล้วก็เข้าเรียนกันหมด ไม่มีบ้านไหนคิดว่าลูกสาวไม่ควรเรียนหนังสือ หรือทำงานไล่ต้อนแกะสักบ้าน
เพราะแบบนั้นผู้ใหญ่บ้านเลยได้รับการยกย่องจากอำเภอ
แต่ซูฉางจิ่วรู้ว่านี่ไม่ใช่ผลงานตัวเอง
มันมาจากการที่เด็ก ๆ บ้านซูเรียนหนังสือต่างหาก ชาวบ้านเลยตระหนักถึงประโยชน์ของการเรียนหนังสือได้
“มาพยายามทำให้ดีที่สุดกันเถอะค่ะ ถึงจะยืนยันอะไรไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็หาคนงานที่จบมัธยมปลายได้นะคะ”
อีกสิบปีต่อมานักศึกษาจะว่างงานกันเยอะ และทุกคนก็ไม่เต็มใจโดนลดสถานะให้ต่ำลงด้วยการมาทำงานในโรงงานเล็ก ๆ ด้วย
แล้วในยุคนี้นักศึกษามีค่าขนาดนั้นเลยหรือ?
หากเป็นตอนนี้ขอแค่จบจากมหาวิทยาลัย ต่อให้จบจากสถาบันอาชีวะ รัฐก็หางานเหมาะ ๆ แจกจ่ายให้ได้
ความจริง ตำแหน่งที่รัฐเสนอมาก็ไม่ได้แย่
ขอแค่เรียนจบจากสถาบันอาชีวะหรือมหาวิทยาลัยย่อมได้งานที่ดีแน่
ถึงจะไม่ได้ร่ำรวย แต่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจทราบได้ว่าจะดีหรือร้ายนั้นก็ยังมีกินมีเสื้อผ้าให้ใส่อยู่ดี
พอนักศึกษาหางานในองค์กรทำ เงินเดือนแต่ละที่ย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
พวกเขาจึงไม่เต็มใจมาทำงานในกิจการของหมู่บ้านและชุมชน ถ้าจะทำงานโรงงานอย่างน้อยก็ต้องเป็นโรงงานของรัฐ
ส่วนด้านความสามารถอาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง
วิธีรับมือมีมากกว่าปัญหาเสมอ!
ซูเสี่ยวเถียนเชื่อมั่นในสิ่งนี้มาก
ถึงจะไม่ใช่ปัญหาง่าย ๆ แต่คิดอีกมุมอาจไม่ยากขนาดนั้น
ต่อให้เปิดรับสมัครคนงานแล้วไม่มีคนมาก็ไม่เป็นไร ถือเสียว่าเราฝึกความสามารถตัวเองไปก็แล้วกัน
เหมือนกับโรงงานในลี่เฉิง ฝึกฝนให้ตัวเองเก่งขึ้น จากจบแค่มัธยมปลายก็สามารถจบมหาวิทยาลัยได้
ตอนนี้ที่นั่นมีนักศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยภาคค่ำหลายคนเลย
สาขาที่เมืองหลวงก็เช่นกัน
เรื่องนี้เราสามารถนำเสนอในหมู่บ้านหนานหลิ่งได้
แต่ก่อนอื่นต้องเอามัธยมปลายก่อน อย่างน้อยก็ขอมัธยมต้นก็ได้
ไม่มีใครได้ยินใช่ไหมล่ะว่าคนที่แค่อ่านออกเขียนได้ก็สามารถเรียนมหาวิทยาลัยได้เหมือนกันน่ะ?
“เข้าใจแล้ว ปีนี้หมู่บ้านเรามีอยู่สามสี่คนที่จบมัธยมปลายแล้วละ แล้วก็มีจากหมู่บ้านเคียงข้าง ในกลุ่มนี้น่าจะมีสักคนที่เข้ามหาวิทยาลัยนะ”
เมื่อมีความเป็นไปได้ที่จะรับสมัครคนจบมัธยมปลาย ซูฉางจิ่วถึงกับกระตือรือร้นขึ้นมา
เขาไม่เก่งพอจะหาคนจบมหาวิทยาลัยได้
แต่ก่อนอื่นต้องเอามัธยมปลายก่อน อย่างน้อยก็ขอมัธยมต้นก็ได้
ไม่มีใครได้ยินใช่ไหมล่ะว่าคนที่แค่อ่านออกเขียนได้ก็สามารถเรียนมหาวิทยาลัยได้เหมือนกันน่ะ?
“เข้าใจแล้ว ปีนี้หมู่บ้านเรามีอยู่สามสี่คนที่จบมัธยมปลายแล้วละ แล้วก็มีจากหมู่บ้านเคียงข้าง ในกลุ่มนี้น่าจะมีสักคนที่เข้ามหาวิทยาลัยนะ”
เมื่อมีความเป็นไปได้ที่จะรับสมัครคนจบมัธยมปลาย ซูฉางจิ่วถึงกับกระตือรือร้นขึ้นมา
เขาไม่เก่งพอจะหาคนจบมหาวิทยาลัยได้
แต่ถ้าเป็นระดับมัธยมปลายละก็ เราหาบ้านใกล้เรือนเคียงมาทำงานที่โรงงานด้วยได้
หลังจากเด็ก ๆ ในหมู่บ้านเรียนจบ หากไม่สอบเข้ามหาวิทยาลัยก็กลับมาทำฟาร์มที่บ้าน ไม่ก็เข้าอำเภอไปหางานที่ไม่ชอบทำ
ใครที่ไหนจะอยากทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่เมืองใหญ่เพื่อให้ได้เงินน้อย ๆ ล่ะ?
ถึงเด็กสาวจะเสียใจ แต่นี่คือสถานการณ์ในตอนนี้
เธอรู้ว่าความต้องการของตัวเองสูงเกินไป
แค่จบมัธยมปลายในยุคนี้ก็ถือว่าหรูแล้ว
ถ้าครอบครัวมีเส้นสายสักนิด มีเงินสักหน่อย การหางานดี ๆ ทำในเมืองไม่ได้ยากเลย
ทำงานในหน่วยงานราชการก็ไม่ได้ยากด้วยซ้ำ
แต่จากสถานการณ์หมู่บ้านหนานหลิ่งเนี่ยสิ
บ้านไหนคิดหาลู่ทางให้ลูกหลานเรียกได้ว่าแทบไม่มี
ส่วนบ้านที่ออกเงินให้ลูกหางานทำก็มีน้อยด้วย
นับวันคนยิ่งคาดหวังว่า หลังจากส่งลูกเข้าเรียนหนังสือแล้ว พวกเขาจะสามารถดูแลครอบครัวได้
แต่ถ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ อนาคตเป็นผู้ดูแลครอบครัวยิ่งไร้ความหวังแน่
“เราเพิ่มเงินเดือนให้คนพวกนี้ตามความสามารถ และเท่าที่จำเป็นได้นะคะ พอถึงช่วงสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยภาคค่ำก็ลองให้พวกเขาไปสอบดูค่ะ”
“ลุงเคยได้ยินอยู่ แต่ถ้าเรียนจบรัฐจะไม่หางานให้น่ะสิ หมายความว่ายังไงหรือ?”
ในเมื่อวุฒิการศึกษาของการเรียนภาคค่ำได้รับการยอมรับทั่วประเทศแล้ว ทำไมรัฐถึงไม่หางานการให้พวกเขาด้วยล่ะ?
“เพราะความรู้ที่เรียนมาก็ได้แค่ตัวเราเองไงคะ อีกอย่างขอแค่บริหารจัดการโรงงานให้ดี รายได้พวกคนงานก็ไม่ได้แย่ไปกว่าคนงานในอำเภอหรอกค่ะ แล้วทำไมต้องให้รัฐหางานให้เราอีกล่ะ?”
ก็จริงนะ
มันก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคนที่มีงานการทำอยู่แล้ว
“เข้าใจแล้ว ไม่ต้องห่วงนะ ลุงจะทำให้ดีที่สุดเอง!”